สำนักปฏิบัติธรรม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑ ฝ่ายธรรมยุต ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจในธรรม คือ หลักสูตร ๓ วัน ๓ คืน หลักสูตร ๗ วัน และมีการปฏิบัติธรรมทุกคืนวันเสาร์ นอกจากนี้ก็ยังมีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันพระ ในเทศกาลเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน จะมีการแสดงพระธรรมเทศนา สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกวัน ตลอดทั้งพรรษา
วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันมาฆบูชา วันแห่งความรักสากลของโลก และวันกตัญญูแห่งโลก
มาฆบูชา วันแห่งความรักสากลของโลก
วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๓ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการของพุทธศาสนา จัดเป็นวันกตัญญูแห่งโลก และวันแห่งความรักสากลของโลก
ความสำคัญ : เป็นวันจาตุรงคสันนิบาตที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้น ๔ ประการ
๑. เป็นวันพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์เต็มดวงและมีพระสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพทั้งสิ้น
๓. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าทรงอุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง
๔. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันแสดงถึง อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการของพุทธศาสนา
หัวใจของโอวาทปาฏิโมกข์ : จัดเป็นวันพระธรรม คือ ทรงแสดง หลักการ อุดมการณ์ วิธีการ ของชาวพุทธ
อุดมการณ์
๑. ให้มีความอดกลั้นอดทนเป็นบรมธรรม
๒. ให้ถือเอาความพ้นจากทุกข์คือพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด
๓. ชาวพุทธจะต้องไม่ฆ่าไม่ทำร้ายไม่เบียดเบียนใคร
หลักการ
๑. ให้งดเว้นจากบาปหรือความชั่วทั้งปวง
๒. ให้กระทำความดีหรือกุศลให้สมบูรณ์
๓. ให้พยายามกระทำจิตของตนเองให้ผ่องใส ปราศจากมลทิน
วิธีการ
๑. ไม่ว่าร้ายใคร
๒. ไม่ทำร้ายใคร
๓. สำรวมในปาฏิโมกข์
๔. รู้จักประมาณในการบริโภค
๕. รู้จักอยู่ในที่สงบสงัด
๖. หมั่นฝึกฝนจิตยกระดับจิตของตนให้สูงอยู่เสมอ
ข้อสังเกต
วันนี้จัดเป็นวันกตัญญูแห่งโลก ที่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ รูปเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย เพื่อต้องการจะไปฟังธรรม ต่างก็ไปด้วยความกตัญญูสำนึกในพระคุณของพระพุทธเจ้า และทางรัฐบาลก็ได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
วันนี้เป็นวันแห่งความรักสากลของโลก ที่พระพุทธองค์ทรงมอบให้กับมวลมนุษยชาติโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะเพศวัย และเป็นความรักอันบริสุทธิ์ที่ประกอบไปด้วยพรหมวิหารธรรมคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อย่างแท้จริง ดอกไม้ที่ควรมอบให้ในวันนี้ คือ ดอกบัว เป็นดอกไม้แทนความบริสุทธิ์
ข้อที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติ
ให้ทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไปทำบุญที่วัด ฟังธรรม เวียนเทียนฯลฯ
มีความรัก ความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งมวล ปฏิบัติตามพุทธโอวาท คือ งดเว้นจากบาป ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องใส และปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธให้สมบูรณ์แบบ ด้วยการกินอยู่อย่างใช้ปัญญา ใช้อินทรีย์เพื่อการฝึกฝนเรียนรู้ และใช้ความรู้ความสามารถไปในทางสร้างสรรค์ไม่ทำลาย
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กองทุนบาลีศึกษา
กองทุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
๑. ชื่อกองทุน “กองทุนบาลีศึกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ”
๒. หลักการและเหตุผล
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนทั้งหมดได้จารึกไว้เป็นภาษาบาลี เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแผนกบาลี เพิ่มเติมจากทางกรมการศาสนาและทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารได้สนับสนุนตามปกติอยู่แล้ว จึงได้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น เพื่อเป็นกองทุนที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพื่อความดำรงมั่นของพระพุทธศาสนาตลอดไป โดยมีวัตถุประสงค์และคณะกรรมการดำเนินการดังต่อไปนี้
๓. วัตถุประสงค์
๑. เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการศึกษา เช่น สมุด หนังสือเรียน ให้แก่นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
๒. มอบเป็นรางวัลแก่อาจารย์สอน และ มอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้ประจำปี โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
๓. สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือ กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
๔. สถานที่ตั้งกองทุน
กุฏิไตรรัตนานุภาพ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต. ในเมือง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช ๘๐๐๐๐
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
๕. คณะกรรมการกองทุน
พระราชธรรมสุธี ประธานกองทุน
พระครูศิริเจติยาทร รองประธานกองทุน
พระมหาประเสริฐ ธีรสุโภ กรรมการ
พระครูวินัยธรปรีชา ปริญาโณ กรรมการ
พระมหาไมตรี ปภารตโน กรรมการ
พระสุเมธิน สุเมธิโก กรรมการ
พระอุดม สุทฺธจิตฺโต กรรมการ
นายวิทยา ระน้อมบำรุง กรรมการและเหรัญญิก
พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม กรรมการและเลขานุการ
ติดต่อบริจาคได้ที่
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
๑. ชื่อกองทุน “กองทุนบาลีศึกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ”
๒. หลักการและเหตุผล
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนทั้งหมดได้จารึกไว้เป็นภาษาบาลี เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแผนกบาลี เพิ่มเติมจากทางกรมการศาสนาและทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารได้สนับสนุนตามปกติอยู่แล้ว จึงได้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น เพื่อเป็นกองทุนที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพื่อความดำรงมั่นของพระพุทธศาสนาตลอดไป โดยมีวัตถุประสงค์และคณะกรรมการดำเนินการดังต่อไปนี้
๓. วัตถุประสงค์
๑. เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการศึกษา เช่น สมุด หนังสือเรียน ให้แก่นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
๒. มอบเป็นรางวัลแก่อาจารย์สอน และ มอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้ประจำปี โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
๓. สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือ กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
๔. สถานที่ตั้งกองทุน
กุฏิไตรรัตนานุภาพ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต. ในเมือง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช ๘๐๐๐๐
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
๕. คณะกรรมการกองทุน
พระราชธรรมสุธี ประธานกองทุน
พระครูศิริเจติยาทร รองประธานกองทุน
พระมหาประเสริฐ ธีรสุโภ กรรมการ
พระครูวินัยธรปรีชา ปริญาโณ กรรมการ
พระมหาไมตรี ปภารตโน กรรมการ
พระสุเมธิน สุเมธิโก กรรมการ
พระอุดม สุทฺธจิตฺโต กรรมการ
นายวิทยา ระน้อมบำรุง กรรมการและเหรัญญิก
พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม กรรมการและเลขานุการ
ติดต่อบริจาคได้ที่
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฎกพื้นฐาน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระไตรปิฏก
ความหมายของพระไตรปิฏก
พระ + ไตร + ปิฏก
พระ = วร = ประเสริฐ
ไตร = ติ = สาม
ปิฏก แปลว่า ตะกร้า หรือ คัมภีร์ , ตำรา
ดังนั้น พระไตรปิฎก จึงหมายถึง คัมภีร์ หรือ ตำรา ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจายคล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของฉะนั้น
การจัดหมวดหมู่พระไตรปิฏก
ความหมายของคำว่า ปิฏก การจัดเป็น ๓ หมวด หรือ ๓ ปิฏก คือ
- พระวินัยปิฏก ๘ เล่ม ชื่อย่อคัมภีร์ว่า อา ปา ม จุ ป
- พระสุตตันตปิฏก ๒๕ เล่มชื่อย่อคัมภีร์ว่า ที ม สํ อํ ขุ
- พระอภิธรรมปิฏก ๑๒ เล่ม ชื่อย่อคัมภีร์ว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป
ตัวแทนพระศาสดา
โย โว อานนฺท ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอนั้นแหล่ะ ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย หลังจากตถาคตล่วงลับไปแล้ว”
นวังคสัตถุศาสน์
๑. สุตตะ คือ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่าง ๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น
๒. เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยคาถาทั้งหมด
๓. เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ชื่อว่า เวยยากรณะทั้งหมด
๔. คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีในสูตร ในสุตตนิบาต
๕. อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
๖. อิติวุตตกะ คือ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
๗. ชาดก เป็นการแสดงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณกชาดกเป็นต้น มีทั้งหมด ๕๐๐ เรื่อง
๘. อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่สัมปยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด
๙. เวทัลละ คือ ระเบียบคำถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดัง จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และ สักกปัญหสูตร เป็นต้น
การจัดหมวดหมู่พระไตรปิฎก ๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยเรื่องของวินัยและข้อควรประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุและภิกษุณี มีทั้งหมด ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๘ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๑ - ๘ ชื่อย่อ อา. , ปา.,ม. ,จุ. ,ป.
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยเรื่องของพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีเรื่องราว สถานที่ บุคคล ประกอบ
มีทั้งหมด ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๒๕ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๙ - ๓๓ มีชื่อย่อคัมภีร์ คือ ที. ม. สํ . อํ . ขุ.
๓. พระอภิธรรมปิฏก เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะชั้นสูงล้วน ๆ คือ เรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มีทั้งหมด ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๑๒ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๓๔ - ๔๕ มีชื่อย่อคัมภีร์ว่า สํ. วิ . ธา. ปุ. ก. ย. ป
พระเถระที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฏก
๑. พระจุนทะ
๒. พระสารีบุตร
หลังพุทธปรินิพพานใหม่ ๆ
๑. พระมหากัสสปะ
๒. พระอานนท์
๓. พระอุบาลี
พระสาวกที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฏก
สมัยพุทธกาล
๑. พระจุนทะ น้องพระสารีบุตร ชักชวนกันเฝ้าพระพุทธเจ้า
๒. พระสารีบุตร รวบรวมไว้เป็นตัวอย่างในสังคีติสูตร
หลังพุทธปรินิพพาน
๑. พระมหากัสสปะ ผู้ริเริ่มสังคายนาครั้งที่ ๑
๒. พระอานนท์ วิสัชชนาพระสูตร
๓. พระอุบาลี วิสัชชนาพระวินัย
ความหมายของพระสูตร
ที่ชื่อว่าพระสูตรเพราะ
- เพราะมุ่งประโยชน์ ๓ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ในภายหน้า และประโยชน์อันสูงสุด
- เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
- เพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย
- เพราะเผล็ดประโยชน์ หลั่งประโยชน์ ป้องกันประโยชน์
ฯลฯ
การสังคายนา
๑. สังคายนาครั้งที่ ๑ หลังปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ และพระเจ้าอชาตศัตรู ประธาน พระร่วม ๕๐๐ รูป ทำนาน ๗ เดือน ที่ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์
๒. สังคายนาครั้งที่ ๒ ทำเมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ ปรารภภิกษุชาววัชชี พระยสากากัณฑกบุตร ประธาน ทำนที่ เมืองเวสาลี มีพระร่วม ๗๐๐ รูป นาน ๗ เดือน
๓. สังคายนาครั้งที่ ๓ ทำเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖ พระเจ้าอโศกมหาราชกระทำ ปรารภเดียรถีย์ปลอมบวช พระร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำนาน ๙ เดือน ส่งพระธรรมทูต ๙ สาย
๔. สังคายนาครั้งที่ ๔ และ ๕ ทำในประเทศลังกา โดยเฉพาะครั้งที่ ๕ มีการจารึกเป็นตัวอักษรในใบลาน ทำที่ อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท
และได้ทำต่อมาในประเทศไทย มีการชำระและจารึกลงในใบลาน อีก ๔ ครั้ง คือ สมัยพระเจ้าติโลกราช สมัยรัชกาลที่ ๑ โดยเฉพาะสมัยรัชการที่ ๕ สมัยรัชกาลที่ ๗ มีการพิมพ์เป็นเล่มด้วย
ลำดับชั้นคัมภีร์พระไตรปิฏก
๑. หลักฐานชั้น ๑ บาลี หรือ พระสูตร (พระไตรปิฏก)
๒. หลักฐานชั้น ๒ อรรถกถา หรือ วัณณนา (สุตตานุโลม)
๓. หลักฐานชั้น ๓ ฏีกา หรือ อาจริยวาท
๔. หลักฐานชั้น ๔ อนุฏีกา
๕. หลักฐานชั้นรอง ๆ ลงมา ได้แก่อัตโนมัตยาธิบาย
วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การปฏิบัติธรรมวันอาสาฬหบูชา ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดพระมหาธาตุ
"...การปฏิบัติธรรม คือการเอาชนะกิเลส
ถ้าเราเอาชนะจิตใจที่ไหลไปตามกิเลส
ไม่ปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสได้
ก็เรียกว่าเราเอาชนะใจตนเอง
คำสอนในพระพุทธศาสนา
สอนให้เอาชนะตน
ไม่ใช่สอนให้เอาชนะผู้อื่น
ชนะผู้อื่นมากสักหมื่นแสน
ก็ไม่ประเสริฐเท่ากับเอาชนะตน
การเอาชนะใจตนเองนี่
เรียกว่าเรามีธรรมะ..."
เนื่องในวันอาสาฬหบูชาที่ผ่านมา ทางสำนักปฏิบัติธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จึงได้จัดโครงการให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาขึ้น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมปฏิบัติ ๓ วัน ๓ คืน ถึง ๑๔๐ คน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)