กองทุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
๑. ชื่อกองทุน “กองทุนบาลีศึกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ”
๒. หลักการและเหตุผล
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำสอนทั้งหมดได้จารึกไว้เป็นภาษาบาลี เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาแผนกบาลี เพิ่มเติมจากทางกรมการศาสนาและทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารได้สนับสนุนตามปกติอยู่แล้ว จึงได้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น เพื่อเป็นกองทุนที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น เพื่อความดำรงมั่นของพระพุทธศาสนาตลอดไป โดยมีวัตถุประสงค์และคณะกรรมการดำเนินการดังต่อไปนี้
๓. วัตถุประสงค์
๑. เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการศึกษา เช่น สมุด หนังสือเรียน ให้แก่นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
๒. มอบเป็นรางวัลแก่อาจารย์สอน และ มอบเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้ประจำปี โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ
๓. สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือ กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
๔. สถานที่ตั้งกองทุน
กุฏิไตรรัตนานุภาพ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต. ในเมือง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช ๘๐๐๐๐
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
๕. คณะกรรมการกองทุน
พระราชธรรมสุธี ประธานกองทุน
พระครูศิริเจติยาทร รองประธานกองทุน
พระมหาประเสริฐ ธีรสุโภ กรรมการ
พระครูวินัยธรปรีชา ปริญาโณ กรรมการ
พระมหาไมตรี ปภารตโน กรรมการ
พระสุเมธิน สุเมธิโก กรรมการ
พระอุดม สุทฺธจิตฺโต กรรมการ
นายวิทยา ระน้อมบำรุง กรรมการและเหรัญญิก
พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม กรรมการและเลขานุการ
ติดต่อบริจาคได้ที่
โทร. ๐๘๖-๖๔๔-๔๙๓๔
สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑ ฝ่ายธรรมยุต ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีหลักสูตรสำหรับผู้ที่สนใจในธรรม คือ หลักสูตร ๓ วัน ๓ คืน หลักสูตร ๗ วัน และมีการปฏิบัติธรรมทุกคืนวันเสาร์ นอกจากนี้ก็ยังมีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันพระ ในเทศกาลเข้าพรรษาตลอด ๓ เดือน จะมีการแสดงพระธรรมเทศนา สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกวัน ตลอดทั้งพรรษา
วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฎกพื้นฐาน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระไตรปิฏก
ความหมายของพระไตรปิฏก
พระ + ไตร + ปิฏก
พระ = วร = ประเสริฐ
ไตร = ติ = สาม
ปิฏก แปลว่า ตะกร้า หรือ คัมภีร์ , ตำรา
ดังนั้น พระไตรปิฎก จึงหมายถึง คัมภีร์ หรือ ตำรา ที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจายคล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่ของฉะนั้น
การจัดหมวดหมู่พระไตรปิฏก
ความหมายของคำว่า ปิฏก การจัดเป็น ๓ หมวด หรือ ๓ ปิฏก คือ
- พระวินัยปิฏก ๘ เล่ม ชื่อย่อคัมภีร์ว่า อา ปา ม จุ ป
- พระสุตตันตปิฏก ๒๕ เล่มชื่อย่อคัมภีร์ว่า ที ม สํ อํ ขุ
- พระอภิธรรมปิฏก ๑๒ เล่ม ชื่อย่อคัมภีร์ว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป
ตัวแทนพระศาสดา
โย โว อานนฺท ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอนั้นแหล่ะ ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย หลังจากตถาคตล่วงลับไปแล้ว”
นวังคสัตถุศาสน์
๑. สุตตะ คือ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่าง ๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น
๒. เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยคาถาทั้งหมด
๓. เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ชื่อว่า เวยยากรณะทั้งหมด
๔. คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีในสูตร ในสุตตนิบาต
๕. อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
๖. อิติวุตตกะ คือ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
๗. ชาดก เป็นการแสดงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณกชาดกเป็นต้น มีทั้งหมด ๕๐๐ เรื่อง
๘. อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่สัมปยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด
๙. เวทัลละ คือ ระเบียบคำถามได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดัง จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และ สักกปัญหสูตร เป็นต้น
การจัดหมวดหมู่พระไตรปิฎก ๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยเรื่องของวินัยและข้อควรประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุและภิกษุณี มีทั้งหมด ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๘ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๑ - ๘ ชื่อย่อ อา. , ปา.,ม. ,จุ. ,ป.
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยเรื่องของพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีเรื่องราว สถานที่ บุคคล ประกอบ
มีทั้งหมด ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๒๕ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๙ - ๓๓ มีชื่อย่อคัมภีร์ คือ ที. ม. สํ . อํ . ขุ.
๓. พระอภิธรรมปิฏก เป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมะชั้นสูงล้วน ๆ คือ เรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มีทั้งหมด ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๑๒ เล่ม ตั้งแต่เล่ม ๓๔ - ๔๕ มีชื่อย่อคัมภีร์ว่า สํ. วิ . ธา. ปุ. ก. ย. ป
พระเถระที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฏก
๑. พระจุนทะ
๒. พระสารีบุตร
หลังพุทธปรินิพพานใหม่ ๆ
๑. พระมหากัสสปะ
๒. พระอานนท์
๓. พระอุบาลี
พระสาวกที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฏก
สมัยพุทธกาล
๑. พระจุนทะ น้องพระสารีบุตร ชักชวนกันเฝ้าพระพุทธเจ้า
๒. พระสารีบุตร รวบรวมไว้เป็นตัวอย่างในสังคีติสูตร
หลังพุทธปรินิพพาน
๑. พระมหากัสสปะ ผู้ริเริ่มสังคายนาครั้งที่ ๑
๒. พระอานนท์ วิสัชชนาพระสูตร
๓. พระอุบาลี วิสัชชนาพระวินัย
ความหมายของพระสูตร
ที่ชื่อว่าพระสูตรเพราะ
- เพราะมุ่งประโยชน์ ๓ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ในภายหน้า และประโยชน์อันสูงสุด
- เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
- เพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย
- เพราะเผล็ดประโยชน์ หลั่งประโยชน์ ป้องกันประโยชน์
ฯลฯ
การสังคายนา
๑. สังคายนาครั้งที่ ๑ หลังปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ และพระเจ้าอชาตศัตรู ประธาน พระร่วม ๕๐๐ รูป ทำนาน ๗ เดือน ที่ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์
๒. สังคายนาครั้งที่ ๒ ทำเมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ ปรารภภิกษุชาววัชชี พระยสากากัณฑกบุตร ประธาน ทำนที่ เมืองเวสาลี มีพระร่วม ๗๐๐ รูป นาน ๗ เดือน
๓. สังคายนาครั้งที่ ๓ ทำเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖ พระเจ้าอโศกมหาราชกระทำ ปรารภเดียรถีย์ปลอมบวช พระร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำนาน ๙ เดือน ส่งพระธรรมทูต ๙ สาย
๔. สังคายนาครั้งที่ ๔ และ ๕ ทำในประเทศลังกา โดยเฉพาะครั้งที่ ๕ มีการจารึกเป็นตัวอักษรในใบลาน ทำที่ อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท
และได้ทำต่อมาในประเทศไทย มีการชำระและจารึกลงในใบลาน อีก ๔ ครั้ง คือ สมัยพระเจ้าติโลกราช สมัยรัชกาลที่ ๑ โดยเฉพาะสมัยรัชการที่ ๕ สมัยรัชกาลที่ ๗ มีการพิมพ์เป็นเล่มด้วย
ลำดับชั้นคัมภีร์พระไตรปิฏก
๑. หลักฐานชั้น ๑ บาลี หรือ พระสูตร (พระไตรปิฏก)
๒. หลักฐานชั้น ๒ อรรถกถา หรือ วัณณนา (สุตตานุโลม)
๓. หลักฐานชั้น ๓ ฏีกา หรือ อาจริยวาท
๔. หลักฐานชั้น ๔ อนุฏีกา
๕. หลักฐานชั้นรอง ๆ ลงมา ได้แก่อัตโนมัตยาธิบาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)